วันจันทร์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2563

ความเป็นมาและพัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศ

ความเป็นมาและพัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศ

  •    เทคโนโลยีโทรคมนาคม
  •    เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์

     เทคโนโลยีโทรคมนาคม

-การประดิษฐ์โทรเลข – Samual Morse (ปีพ.ศ.2380)
ข่าวสารถูกแปลงเป็นสัญญาณไฟฟ้าส่งไปตามสายเป็นระยะไกลๆ
-การวางสายเคเบิ้ลใต้มหาสมุทรแอแลนติก (ปีพ.ศ.2401)
การสื่อสารข้ามทวีประหว่างทวีปอเมริกากับทวีปยุโรปเป็นครั้ง
แรก
-การประดิษฐ์โทรศัพท์ –Alexander Graham Bell (ปีพ.ศ.2419)
การตั้งชุมสายโทรศัพท์ครั้งแรก และการขยายตัวของชุมสายฯ

     การสื่อสารไร้สาย
-การค้นพบคลื่นวิทยุ โดยHeinrich Hertz (ปีพ.ศ.2430)

-การประดิษฐ์เครื่องรับส่งวิทยุเครื่องแรกโดย Guglielmo Marconi (ปีพ.ศ.2437)  

-การประดิษฐ์หลอดสุญญากาศ จุดเริ่มต้นของการขยายการแปรรูปสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ โดย John Flemming และ Lee De Forest

-การประดิษฐ์ทรานซิสเตอร์ที่มาของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แบบสารกึ่งตัวนำไอซีและซีพียูในคอมพิวเตอร์ โดย Schockley, Bardeen และ Brattain (ปีพ.ศ.2490)

-การประดิษฐ์หลอดภาพโทรทัศน์ ที่เป็นที่มาของจอภาพคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน โดย Vladimir Zworykin  (ปี พ.ศ.2497)

-การประดิษฐ์วงจรรวมหรือ ไอซี โดย Jack Killby และ Robert Noyce (ปีพ.ศ.2500) – เป็นเทคโนโลยีย่อส่วนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ทำให้คอมพิวเตอร์ในปัจจุบันมีสมรรถนะสูงและมีขนาดเล็ก

-การสร้างดาวเทียมสื่อสาร เทลสตาร์1 – ดาวเทียมสื่อสารดวงแรกของโลก โดยบริษัท AT&T (ปีพ.ศ.2504)


     เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์

คอมพิวเตอร์ 
คอมพิวเตอร์มีวิวัฒนาการแบ่งออกเป็น 5 ยุค ดังนี้
คอมพิวเตอร์ยุคที่ 1 อยู่ระหว่างปี พ.ศ. 2488 ถึง พ.ศ. 2501 เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้หลอดสุญญากาศซึ่งใช้กำลังไฟฟ้าสูง จึงมีปัญหาเรื่องความร้อนและไส้หลอดขาดบ่อย ถึงแม้จะมีระบบระบายความร้อนที่ดีมาก การสั่งงานใช้ภาษาเครื่องซึ่งเป็นรหัสตัวเลขที่ยุ่งยากซับซ้อน เครื่องคอมพิวเตอร์ของยุคนี้มีขนาดใหญ่โต เช่น มาร์ค วัน (MARK I), อีนิแอค (ENIAC), ยูนิแวค (UNIVAC)

คอมพิวเตอร์ยุคที่ 2 อยู่ระหว่างปี พ.ศ. 2502 ถึง พ.ศ. 2507 เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้ทรานซิสเตอร์ (Transister) เป็นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ และใช้วงแหวนแม่เหล็กเป็นหน่วยความจำ เป็นคอมพิเตอร์ที่มีขนาดเล็กกว่ายุคแรก ราคาถูกลง ต้นทุนต่ำกว่าใช้กระแสไฟฟ้าน้อย มีความแม่นยำและมีประสิทธิภาพที่ดีกว่า

คอมพิวเตอร์ยุคที่ 3 อยู่ระหว่างปี พ.ศ. 2507 ถึง พ.ศ. 2513 เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้วงจรรวม (Integrated Circuit : IC) หรือเรียกว่าวงจรไอซี ซึ่งเป็นสารกึ่งตัวนำที่บรรจุวงจีทางตรรกะไว้ แล้วพิมพ์บนแผ่นซิลอคอน(Silicon) เรียกว่า ชิป ซึ่งสามารถทำงานได้เท่ากับทรานซิสเตอร์หลายร้อยตัว เครื่องคอมพิวเตอร์จึงมีขนาดเล็กลง ความเร็วเพิ่มขึ้นและใช้กำลังไฟน้อย

คอมพิวเตอร์ยุคที่ 4 อยู่ระหว่างปี พ.ศ. 2514 ถึง พ.ศ. 2523 เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้วงจร LSI (Large Scale Integration) เป็นการรวมวงจรไอซีจำนวนมากลงในแผ่นซิลิคอนชิป 1 แผ่น สามารถบรรจุได้มากกว่า 1 ล้านวงจร ขนาดของเครื่องคอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลง หรือไมโครคอมพิวเตอร์ เป็นแบบตั้งโต๊ะ หรือพกพาได้ ทำงานเร็วขึ้นและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

คอมพิวเตอร์ยุคที่ 5 อยู่ระหว่างปี พ.ศ. 2524-ปัจจุบัน เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้วงจร VLSI (Very Large Scale Integration) เป็นการพัฒนาไมโครโพรเซสเซอร์ให้มีประสิทธภาพมากขึ้น คอมพิวเตอร์ในยุคนี้ใช้เพื่อช่วยในการจัดการ การตัดสินใจ และการแก้ปัญหา โดยจะมีการเก็บข้อมูลไว้ เมื่อต้องการใช้งานก็สามารถเรียกข้อมูลที่เก็บไว้มาใช้ในการทำงานได้ ขนาดเครื่องมีแนวโน้มเล็กลง และมีความเร็วสูงขึ้น เช่น โน๊ตบุ๊ก

ลักษณะของระบบปัญญาประดิษฐ์
1. ระบบหุ่นยนตร์หรือแขนกล (Robotics or Robot arm System)

          - หุ่นจำลองร่างกายมนุษย์ทำงานด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์
          - แขนกลในโรงงานอุตสาหกรรม หุ่นยนตร์กู้ระเบิด

2. ระบบประมวลภาษาพูด (Natural Language Processing System) 
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ระบบประมวลภาษาพูด
ระบบคอมพิวเตอร์สามารถสังเคราะห์เสียงที่มีอยู่ในธรรมชาติ (Synthesize) เพื่อสื่อความหมายกับมนุษย์ นาฬิกาปลุกพูดได้ (Talking Clock)  เครื่องคิดเลขพูดได้ (Talking Calcuator)

3. ระบบการรู้จำเสียงพูด (Speech Regcognition System)
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ระบบการรู้จำเสียงพูด
พัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ให้เข้าใจภาษามนุษย์ จดจำคำพูดของมนุษย์ได้อย่างต่อเนื่อง งานระบบรักษาความปลอดภัย งานพิมพ์เอกสารสำหรับผู้พิการ

4. ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert System)
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ คอมพิวเตอร์วิเคราะห์โรค
พัฒนาให้ระบบคอมพิวเตอร์มีความรู้ รู้จักใช้เหตุผลในการวิเคราะห์ปัญหา อาศัยฐานข้อมูล (Database) เพื่อให้ระบบคอมพิวเตอร์สามารถวิเคราะห์ปัญหาได้จากฐานความรู้นั้น คอมพิวเตอร์วิเคราะห์โรคคอมพิวเตอร์ทำนายโชคชะตา


การสืบค้นสารสนเทศ

การสืบค้นสารสนเทศ

  การสืบค้นข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต  

        การสืบค้นสารสนเทศ (Information Retrieval)
เป็นกระบวนการในการค้นหาสารสนเทศ ที่จัดเก็บในทรัพยากรสารสนเทศประเภทต่างๆ หรือแหล่งสารสนเทศประเภทต่างๆ ที่สารสนเทศถูกจัดเก็บไว้ตามหัวข้อ หรือตามประเภทของทรัพยากร สารสนเทศ ในปัจจุบันการค้นหาสารสนเทศ สามารถค้นได้จากเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับโปรแกรมจัดเก็บและค้นคืนสารสนเทศ รวมทั้งการเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เพื่อให้ผู้ค้นได้รับสารสนเทศที่ ตรงกับความต้องการในการนำไปใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด 

        กระบวนการค้นคืนสารสนเทศ
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ กระบวนการค้นคืนสารสนเทศ

          การกำหนดคำค้น

การค้นโดยใช้คำศัพท์ควบคุม 
(Controlled Vocabulary)

การค้นโดยใช้คำศัพท์แบบไม่ควบคุม 

(Uncontrolled Vocabulary)

   การค้นโดยใช้คำศัพท์ควบคุม (Controlled Vocabulary)
มีการเรียกแตกต่างกันออกไปดังนี้
-ห้องสมุดเรียก หัวเรื่อง เนื้อเรื่อง (Subject)
-ฐานข้อมูลเชิงพาณิชย์เรียก ศัพท์สัมพันธ์ (Thesaurus)
-กำหนดคำเพื่อใช้แทนเนื้อหาสาระโดยรวมของสารสนเทศ
เช่น หัวเรื่อง พืชน้ำมัน หมายความถึง พืชทุกชนิดที่ให้น้ำมัน

เช่น ละหุ่ง ปาล์ม มะพร้าว ฯลฯ

                 ข้อดีของการค้นจากคำศัพท์ควบคุม 
ได้ผลการค้นที่ตรงกับความต้องการมากที่สุด
ผลการค้นไม่เยอะจนเกินความจำเป็น

                 ข้อเสียของการค้นจากคำศัพท์ควบคุม 
ไม่สามารถกำหนดคำที่ต้องการค้นได้ถูกต้องตามที่ห้องสมุดได้กำหนดไว้ เช่น เรื่องโลกร้อน ห้องสมุดกำหนดหัวเรื่องไว้ว่า
“ภาวะโลกร้อน” หากผู้ใช้กำหนดคำค้นว่า “โลกร้อน” ก็จะหาไม่เจอ เป็นต้น

     การค้นโดยใช้คำศัพท์แบบไม่ควบคุม (Uncontrolled Vocabulary)
นิยมเรียกกันว่าค้นแบบใช้ คำสำคัญ (Keyword)
ผู้ใช้สามารถกำหนดคำค้นได้ตามความต้องการโดยไม่ต้องคำนึงว่าจะตรงกับคำที่ห้องสมุดจัดไว้หรือไม่
คำสำคัญต้องอยู่ในรูปของคำศัพท์ หรือ วลี ไม่ใช่ประโยค
ตัวอย่าง ต้องการค้นเรื่อง
“ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับโรคไข้หวัดใหญ่“

การกำหนดคำค้น ต้องเป็นคำว่า “โรคไข้หวัดใหญ่“ หรือ “ไข้หวัดใหญ่“
                 
                     ข้อดีของการค้นจากคำศัพท์แบบไม่ควบคุม 
-ผู้ใช้สามารถกำหนดคำได้อย่างอิสระ สะดวกในการค้น
-สามารถกำหนดคำค้นได้จากคำศัพท์ใหม่ๆ ที่ยังไม่ได้มีการกำหนดคำศัพท์ควบคุมไว้
                
                      ข้อเสียของการค้นจากคำศัพท์แบบไม่ควบคุม 
-ผลการค้นได้เอกสารมากเกินความจำเป็น
-เอกสารบางอย่างที่ค้นไม่ได้ตรงกับความต้องการ
-ผลการค้นไม่เที่ยงตรงเท่ากับการใช้หัวเรื่อง แต่ค้นได้ง่ายกว่าและเยอะกว่า


เทคนิคการค้นฐานข้อมูลโดยใช้ตัวดำเนินการ
-การใช้บูลีน (Boolean)
-การค้นเป็นวลี (Phrase Search)
-การค้นแบบตัดปลาย (Truncation)
-การกำหนดค้นเฉพาะส่วน (Field Search)
-การจำกัดการค้น (Search Limit)

   การใช้บูลีน (Boolean)
ตรรกะบูลีน  ได้แก่ AND OR NOT NEAR
วิธีการใช้
AND   ใช้กำหนดค้นคำที่ต้องการให้ปรากฏทั้งหมด
OR  ใช้กำหนดค้นคำที่ต้องการให้ปรากฏทั้งหมด หรือคำใดคำหนึ่งก็ได้
NOT ใช้เมื่อต้องการตัดคำที่มีเนื้อหาที่ไม่ต้องการออก

NEAR ใช้ในการกำหนดระยะห่างของคำที่กำหนด

   การค้นเป็นวลี (Phrase Search)
การค้นเป็นวลี ก็เพื่อหลีกเลี่ยงการค้นที่คลาดเคลื่อนอันเนื่องมาจาก
คำนั้นเป็นชื่อบุคคล สถานที่ ชื่อหนังสือ หรือคำที่เขียนไม่ติดกัน
เช่น บารัค โอบามา ผลค้น อาจจะเป็น บารัค โอบามา หรือ มิเชล โอบามา หรือ … โอบามา
ดังนั้น ผู้ใช้ต้องใช้การค้นแบบวลีช่วยในการกำหนดคำค้นดังนี้
“บารัค โอบามา” เป็นต้น

   การค้นแบบตัดปลาย (Truncation)
เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า การใช้ wildcard เป็นการกำหนดการค้นโดยใช้เครื่องหมายตัดปลายโดยกำหนดจากคำหลักแล้วใช้เครื่องหมายตัดปลายวางหลังตัวอักษรหรือระหว่างตัวอักษร เช่น
COMPUTER ใช้เครื่องหมายตัดปลายคือ COMPUT*
ผลที่ได้จะเป็นคำเหล่านี้  COMPUTE
                                        COMPUTER
                                        COMPUTERING
หรืออาจแทรกระหว่างตัวอักษรเช่น ORGANI*ATION

ผลที่ได้จะเป็น ORGANIZATION และ ORGANISATION

    โปรแกรมสืบค้นข้อมูล: SEARCH ENGINE
แหล่งรวบรวมข้อมูลที่ใหญ่ที่สุดในอินเทอร์เน็ตทำการเปรียบเทียบ คำที่กำหนดค้น กับดรรชนีคำ  ว่ามีความตรงกันมากน้อยเพียงใด นำผลค้นมาจัดลำดับความเกี่ยวข้องกับคำที่กำหนดค้นโดยแสดงปริมาณความเกี่ยวข้อง อาจแสดงเป็นร้อยละ หรือ จัดลำดับความสำคัญ หรือ วันที่

             ประเภทของ SEARCH ENGINE
1. จัดทำโดยโปรแกรมจัดเก็บ
         INDEX SEARCH  โปรแกรมค้นหาแบบดรรชนี
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ INDEX SEARCH
-อาจเรียกว่า keyword search engine
-ใช้Agent หรือ Spider หรือ Robot ในการตรวจสอบเว็บไซต์
-เข้าทำการสำรวจเว็บเพจที่มีในเครือข่ายหรือปรับปรุงเปลี่ยนแปลงข้อมูลใหม่ที่มีการเปิดดู
-นำรายการผลการสำรวจ เช่น ชื่อเรื่อง เนื้อหาโดยย่อ และ URL จัดเก็บในฐานข้อมูล 
Uniform Resource Locator
-สร้างดรรชนีของข้อมูลในหน้าเว็บเพจ
-ทำการเชื่อมโยงระหว่างดรรชนีและฐานข้อมูล

-จัดเก็บเว็บเพจไว้ในฐานข้อมูลของตัวเอง
                 
                      ข้อควรทราบเกี่ยวกับ Index Search
-ค้นได้เว็บไซต์ทันสมัย
-Spider ค้นหาเว็บเพจอยู่ตลอดเวลา
-นำมาทำดรรชนีค้นทันที
-ได้ผลค้นจำนวนมาก
-เว็บเพจที่ได้ต้องนำมาประเมินก่อนใช้ ถึงความน่าเชื่อถือ
-ผู้ใช้ควรทราบเกี่ยวกับวิธีการกำหนดค้น
- Boolean  Proximity  Truncate  (---)

         META SEARCH
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ META SEARCH
-ไม่มีฐานข้อมูลเป็นของตัวเอง
-สืบค้นข้อมูลจาก Search Engine อื่นๆ
-นำผลค้นที่ได้มาเรียงตามลำดับ
-สามารถเลือกสืบค้นพร้อมกันจากหลายๆ Search Engineในการค้นเพียงครั้งเดียวและหน้าจอเดียว

         

2. จัดทำโดยมนุษย์
Subject  Directory  Search
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ Subject  Directory  Search
-จัดกลุ่มเว็บเพจตามเนื้อหาที่ปรากฏ
-ใช้คนในการตรวจสอบ
-แบ่งเป็นกลุ่มเรื่องใหญ่ๆ
-แต่ละกลุ่มจะแบ่งเป็นเรื่องย่อยๆต่อไปเรื่อยๆ
-แสดงจำนวนรายการที่มีข้อมูล และแหล่งที่ปรากฏข้อมูล
                     
                      ข้อควรทราบเกี่ยวกับ Subject  Directory  Search
-ฐานข้อมูลมีจำนวนน้อย
-ได้ข้อมูลที่ตรงต่อความต้องการ
-มีการตรวจสอบเนื้อหาตรงกับหัวเรื่องโดยใช้มนุษย์
-การแบ่งเป็นกลุ่มจะแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ และแบ่งเป็นกลุ่มย่อยๆ
-การค้นต้องเปิดหลายหน้าต่าง จนถึงข้อมูลที่ต้องการ
-ข้อมูลที่ได้จะไม่ค่อยมีความทันสมัย


             Specific Search
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ Specific Search
-ใช้ค้นข้อมูลเฉพาะสาขาวิชา หรือข้อมูลเฉพาะด้าน
-ใช้ค้นหาแหล่งที่มี บริการฐานข้อมูล
-นิยมทำเป็นแบบนามานุกรมเหมือนแบบ Directory Search
-จัดทำโดยบรรณารักษ์ ผู้เชี่ยวชาญ หน่วยงานเฉพาะ
-วัตถุประสงค์เพื่อการค้นคว้าวิจัยเฉพาะด้าน





ประเภทของเทคโนโลยีสารสนเทศ

ประเภทของเทคโนโลยีสารสนเทศ


       เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม


      ความสำคัญ
เทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม  เป็นการสื่อสารที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ
ต่อการพัฒนาประเทศ ประเทศที่พัฒนาแล้วจะมีระบบสื่อสารโทรคมนาคมที่ทันสมัย
ขณะเดียวกันพัฒนาการทางเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคมก็ได้ก้าวหน้าขึ้นเป็นอย่างมากจนทำให้โลกดูเล็กลง

     รูปแบบของเทคโนโลยี

1. การสื่อสารผ่านดาวเทียม (satellite-based communication)

                การทำงานของดาวเทียมสื่อสาร


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ดาวเทียมการสื่อสาร




2.การสื่อสารด้วยเส้นใยนำแสง(fiber optic)
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ fiber optic
เส้นใยนำแสงมีลักษณะเป็นท่อแก้วที่อ่อนตัวอยู่ในสายที่หุ้มด้วยพลาสติก ลักษณะของท่อแก้วหุ้ม
ด้วยสารพิเศษที่ทำให้เกิดการหักเหของแสงอยู่ภายในท่อแก้ว ดังนั้นเราสามารถส่งแสงจากปลาย
ด้านหนึ่งให้ไปปรากฏที่ปลายอีกด้านหนึ่งได้ แม้ว่าเส้นใยนำแสงนั้นจะคดงอไปอย่างไรก็ตามก็จะส่ง
แสงเข้าไปในท่อแก้วได้ เมื่อมีการนำเอาข้อมูลเข้าไปผสมกับแสง เพื่อให้แสงกระพริบตามการ
เปลี่ยนแปลงของข้อมูล ทำให้เรารับส่งสัญญาณข้อมูลไปกับแสงได้ การรับส่งข้อมูลเข้าไปในแสงทำได้มากและรวดเร็ว ปัจจุบันในประเทศไทยมีการวางเครือข่ายเส้นใยนำแสงไปตามถนนหนทางต่างๆ ทั้ง
ใต้ดิน และที่แขวนไปตามเสาไฟฟ้า มีการวางเชื่อมโยงกันระหว่างจังหวัด เพื่อให้
ระบบสื่อสารเป็นเสมือนเส้นทางด่วนที่รองรับการสื่อสารของประเทศ



3.โครงข่ายบริการสื่อสารร่วมระบบดิจิทัล (Integrated Service Digital Network : ISDN)
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ โครงข่ายบริการสื่อสารร่วมระบบดิจิทัล (Integrated Service Digital Network : ISDN)
ลักษณะเครือข่ายนี้เป็นการขยายการบริการจากระบบโทรศัพท์เดิมให้เป็นระบบดิจิทัลคือส่งสัญญาณข้อมูลตัวเลข แทนเสียง แทนภาพ แทนข้อมูล 


4.ระบบสื่อสารเคลื่อนที่ (mobile phone system)
ระบบนี้ใช้กับโทรศัพท์ ทำให้มีโทรศัพท์ติดรถยนต์ โทรศัพท์เคลื่อนที่ ปัจจุบันการสื่อสารระบบนี้เป็นที่แพร่หลายและนิยมใช้กันมาก
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ระบบนี้ใช้กับโทรศัพท์ ทำให้มีโทรศัพท์ติดรถยนต์ โทรศัพท์เคลื่อนที่ ปัจจุบันการสื่อสารระบบนี้เป็นที่แพร่หลายและนิยมใช้กันมาก
               

               การใช้งานโครงข่ายบริการสื่อสารร่วมระบบดิจิทัล 
เน้นการประยุกต์ใช้งานหลายอย่างบนเครือข่ายเดียวกัน โดยวางฐานขยายจากโทรศัพท์ เช่น ในสายโทรศัพท์เส้นเดียวที่เชื่อมต่อไปยังบ้านเรือนผู้ใช้ สามารถประยุกต์ให้เป็นระบบโทรศัพท์ที่เห็นภาพ 
  -ใช้ส่งโทรสาร (Facimile)
  -ใช้เป็นระบบการประชุมทางวีดิทัศน์ (Video Conference) 
  -ใช้ในการส่งข้อมูลทางคอมพิวเตอร์เพื่อ
  -เชื่อมโยงกับระบบคอมพิวเตอร์อื่นๆ 

สรุปความสำคัญของเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม

ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง
1. ความรวดเร็วในการติดต่อสื่อสาร 
2. เกิดสภาวะ Ubiquitous  (evereywhere, at the same time) 
- ลดข้อจำกัดเรื่องระยะทาง
- ลดข้อจำกัดเรื่องเวลา 
3. เกิดความเสมอภาคในการติดต่อสื่อสาร
- ทุกคนมีสิทธิติดต่อสื่อสาร
- ทุกคนมีสิทธิในการรับ/ส่งข้อมูล 


       ระบบสารสนเทศ (Information System)

ระบบสารสนเทศ (Information System) คือ ระบบที่สามารถจัดการข้อมูลตั้งแต่การรวบรวมและตรวจสอบข้อมูล  การประมวลผลข้อมูล รวมถึงการดูแลรักษาข้อมูลเพื่อให้ได้สารสนเทศที่ถูกต้องและทันต่อความต้องการของผู้ใช้  และผู้ใช้สามารถนำสารสนเทศที่ได้ไปประกอบการตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ

   กระบวนการทำงานของระบบสารสนเทศ
1.การนำเข้าข้อมูล (Input) เป็นการนำข้อมูลดิบ (Data) ที่ได้จากการเก็บรวบรวมเข้าสู่ระบบ เพื่อนำไปประมวลผลให้เป็นสารสนเทศ เช่น การบันทึกการขายรายวัน,บันทึกคะแนนเก็บของนักเรียน ฯลฯ
2.การประมวลผลข้อมูล (Process) เป็นการคิด คำนวณ หรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลดิบให้เป็นสารสนเทศ อาจทำได้ด้วยการเรียงลำดับ การคำนวณ การจัดรูปแบบ และการเปรียบเทียบตัวอย่างการประมวลผล เช่น การคำนวณรายได้ของผู้ปกครอง การนับจำนวนวันหยุดราชการบนปฏิทิน ฯลฯ
3.การแสดงผล (Output) เป็นการนำผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลมาแสดงในรูปแบบที่ผู้ใช้ต้องการ เพื่อส่งเสริมหรือช่วยในการตัดสินใจ
4.การจัดเก็บข้อมูล (Storage) เป็นการจัดเก็บข้อมูลดิบหรือสารสนเทศทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศ เนื่องจากการนำข้อมูลดิบเข้าสู่ระบบมีการจัดเก็บจนถึงระยะยาวระยะหนึ่งแล้วจึงนำไปประมวลผล
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ 1.การนำเข้าข้อมูล (Input) เป็นการนำข้อมูลดิบ (Data) ที่ได้จากการเก็บรวบรวมเข้าสู่ระบบ เพื่อนำไปประมวลผลให้เป็นสารสนเทศ เช่น การบันทึกการขายรายวัน,บันทึกคะแนนเก็บของนักเรียน ฯลฯ  2.การประมวลผลข้อมูล (Process) เป็นการคิด คำนวณ หรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลดิบให้เป็นสารสนเทศ อาจทำได้ด้วยการเรียงลำดับ การคำนวณ การจัดรูปแบบ และการเปรียบเทียบตัวอย่างการประมวลผล เช่น การคำนวณรายได้ของผู้ปกครอง การนับจำนวนวันหยุดราชการบนปฏิทิน ฯลฯ   3.การแสดงผล (Output) เป็นการนำผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลมาแสดงในรูปแบบที่ผู้ใช้ต้องการ เพื่อส่งเสริมหรือช่วยในการตัดสินใจ  4.การจัดเก็บข้อมูล (Storage) เป็นการจัดเก็บข้อมูลดิบหรือสารสนเทศทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศ เนื่องจากการนำข้อมูลดิบเข้าสู่ระบบมีการจัดเก็บจนถึงระยะยาวระยะหนึ่งแล้วจึงนำไปประมวลผล

   องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ
องค์ประกอบที่สำคัญของระบบสารสนเทศมี 5 ส่วนคือ
  1. ฮาร์ดแวร์(เครื่องจักรอุปกรณ)์ 
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ฮาดแวร์
หมายถึง เครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ช่วยในการจัดการสารสนเทศ คอมพิวเตอร์ช่วยประมวลผล คัดเลือก คำนวณ หรือพิมพ์รายงาน ผลตามที่ต้องการ คอมพิวเตอร์เป็นอุปกรณ์ที่ทำงานได้รวดเร็ว มีความแม่นยำในการทำงาน และทำงานได้ต่อเนื่อง คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่างๆ สามารถแบ่งเป็น  3 หน่วย คือ 
             - หน่วยรับข้อมูล (Input unit) ได้แก่ แป้นพิมพ์ เมาส์  ไมโครโฟน
             - หน่วยประมวลผลกลาง(Central Processing Unit : CPU)
             - หน่วยแสดงผล (Output unit) ได้แก่ จอภาพ ลำโพง เครื่องพิมพ์

  2. ซอฟต์แวร์
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ซอฟต์แวร์
คือลำดับขั้นตอนคำสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ ทำงานตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ ซอฟต์แวร์ จึงหมายถึงชุดคำสั่งที่เรียง เป็นลำดับขั้นตอนสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามต้องการ และประมวลผลเพื่อให้ได้สารสนเทศที่ต้องการ 
ซอฟต์แวร์หรือชุดคำสั่งคอมพิวเตอร์ แบ่งออกเป็น 2ประเภท คือ 
    - ซอฟต์แวร์ระบบ คือ ซอฟต์แวร์ที่ใช้จัดการกับระบบคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ต่างๆ ที่มีอยู่ในระบบ  เช่น ระบบปฏิบัติการวินโดว์ส ระบบปฏิบัติการดอส ระบบปฏิบัติการยูนิกซ์
    - ซอฟต์แวร์ประยุกต์ ซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้งานด้านต่างๆ ตามความต้องการของผู้ใช้ เช่น ซอฟต์แวร์กราฟิก  ซอฟต์แวร์ประมวลคำ  ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน 

  3. ข้อมูล
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ข้อมูล
เป็นวัตถุดิบที่ทำให้เกิดสารสนเทศ ข้อมูลที่เป็นวัตถุดิบจะต่างกัน ขึ้นกับสารสนเทศที่ต้องการ เช่น ในสถานศึกษามักจะต้องการ สารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลนักเรียน ข้อมูลผลการเรียน ข้อมูลอาจารย์ ข้อมูลการใช้จ่ายต่าง ๆ ข้อมูลเป็นสิ่งที่สำคัญประการหนึ่งที่มีบทบาทต่อการให้เกิด สารสนเทศ
  
  4. บุคลากร
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ บุคลากร
เป็นส่วนประกอบที่สำคัญ เพราะบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ และเข้าใจวิธีการให้ได้มาซึ่งสารสนเทศ จะเป็นผู้ดำเนินการ ในการทำงานทั้งหมด บุคลากรจึงต้องมีความรู้ความเข้าใจในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ บุคลากรภายในองค์กรเป็นส่วนประกอบที่จะทำให้เกิดระบบสารสนเทศด้วยกันทุกคน เช่น ร้านขายสินค้าแห่งหนึ่ง บุคลากรที่ดำเนินการในร้านค้าทุกคน ตั้งแต่ผู้จัดการถึงพนักงานขาย เป็นส่วนประกอบที่จะทำให้เกิดสารสนเทศได้

  5. ขั้นตอนการปฏิบัติงาน
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ขั้นตอนการปฏิบัติงาน
ขั้นตอนการปฏิบัติงาน เป็นระเบียบวิธีการปฏิบัติงานในการจัดเก็บรักษาข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่จะทำให้เป็นสารสนเทศได้ เช่น กำหนดให้ มีการป้อนข้อมูลทุกวัน ป้อนข้อมูลให้ทันตามกำหนดเวลา มีการแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้องอยู่เสมอ กำหนดเวลาในการประมวลผล การทำรายงาน การดำเนินการ ต่าง ๆ ต้องมีขั้นตอน หากขั้นตอนใดมีปัญหาระบบก็จะมีปัญหาด้วย เพราะทุกขั้นตอนมีผลต่อระบบสารสนเทศ