วันจันทร์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2563

ความเป็นมาและพัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศ

ความเป็นมาและพัฒนาการของเทคโนโลยีสารสนเทศ

  •    เทคโนโลยีโทรคมนาคม
  •    เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์

     เทคโนโลยีโทรคมนาคม

-การประดิษฐ์โทรเลข – Samual Morse (ปีพ.ศ.2380)
ข่าวสารถูกแปลงเป็นสัญญาณไฟฟ้าส่งไปตามสายเป็นระยะไกลๆ
-การวางสายเคเบิ้ลใต้มหาสมุทรแอแลนติก (ปีพ.ศ.2401)
การสื่อสารข้ามทวีประหว่างทวีปอเมริกากับทวีปยุโรปเป็นครั้ง
แรก
-การประดิษฐ์โทรศัพท์ –Alexander Graham Bell (ปีพ.ศ.2419)
การตั้งชุมสายโทรศัพท์ครั้งแรก และการขยายตัวของชุมสายฯ

     การสื่อสารไร้สาย
-การค้นพบคลื่นวิทยุ โดยHeinrich Hertz (ปีพ.ศ.2430)

-การประดิษฐ์เครื่องรับส่งวิทยุเครื่องแรกโดย Guglielmo Marconi (ปีพ.ศ.2437)  

-การประดิษฐ์หลอดสุญญากาศ จุดเริ่มต้นของการขยายการแปรรูปสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ โดย John Flemming และ Lee De Forest

-การประดิษฐ์ทรานซิสเตอร์ที่มาของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แบบสารกึ่งตัวนำไอซีและซีพียูในคอมพิวเตอร์ โดย Schockley, Bardeen และ Brattain (ปีพ.ศ.2490)

-การประดิษฐ์หลอดภาพโทรทัศน์ ที่เป็นที่มาของจอภาพคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน โดย Vladimir Zworykin  (ปี พ.ศ.2497)

-การประดิษฐ์วงจรรวมหรือ ไอซี โดย Jack Killby และ Robert Noyce (ปีพ.ศ.2500) – เป็นเทคโนโลยีย่อส่วนอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ทำให้คอมพิวเตอร์ในปัจจุบันมีสมรรถนะสูงและมีขนาดเล็ก

-การสร้างดาวเทียมสื่อสาร เทลสตาร์1 – ดาวเทียมสื่อสารดวงแรกของโลก โดยบริษัท AT&T (ปีพ.ศ.2504)


     เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์

คอมพิวเตอร์ 
คอมพิวเตอร์มีวิวัฒนาการแบ่งออกเป็น 5 ยุค ดังนี้
คอมพิวเตอร์ยุคที่ 1 อยู่ระหว่างปี พ.ศ. 2488 ถึง พ.ศ. 2501 เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้หลอดสุญญากาศซึ่งใช้กำลังไฟฟ้าสูง จึงมีปัญหาเรื่องความร้อนและไส้หลอดขาดบ่อย ถึงแม้จะมีระบบระบายความร้อนที่ดีมาก การสั่งงานใช้ภาษาเครื่องซึ่งเป็นรหัสตัวเลขที่ยุ่งยากซับซ้อน เครื่องคอมพิวเตอร์ของยุคนี้มีขนาดใหญ่โต เช่น มาร์ค วัน (MARK I), อีนิแอค (ENIAC), ยูนิแวค (UNIVAC)

คอมพิวเตอร์ยุคที่ 2 อยู่ระหว่างปี พ.ศ. 2502 ถึง พ.ศ. 2507 เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้ทรานซิสเตอร์ (Transister) เป็นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ และใช้วงแหวนแม่เหล็กเป็นหน่วยความจำ เป็นคอมพิเตอร์ที่มีขนาดเล็กกว่ายุคแรก ราคาถูกลง ต้นทุนต่ำกว่าใช้กระแสไฟฟ้าน้อย มีความแม่นยำและมีประสิทธิภาพที่ดีกว่า

คอมพิวเตอร์ยุคที่ 3 อยู่ระหว่างปี พ.ศ. 2507 ถึง พ.ศ. 2513 เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้วงจรรวม (Integrated Circuit : IC) หรือเรียกว่าวงจรไอซี ซึ่งเป็นสารกึ่งตัวนำที่บรรจุวงจีทางตรรกะไว้ แล้วพิมพ์บนแผ่นซิลอคอน(Silicon) เรียกว่า ชิป ซึ่งสามารถทำงานได้เท่ากับทรานซิสเตอร์หลายร้อยตัว เครื่องคอมพิวเตอร์จึงมีขนาดเล็กลง ความเร็วเพิ่มขึ้นและใช้กำลังไฟน้อย

คอมพิวเตอร์ยุคที่ 4 อยู่ระหว่างปี พ.ศ. 2514 ถึง พ.ศ. 2523 เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้วงจร LSI (Large Scale Integration) เป็นการรวมวงจรไอซีจำนวนมากลงในแผ่นซิลิคอนชิป 1 แผ่น สามารถบรรจุได้มากกว่า 1 ล้านวงจร ขนาดของเครื่องคอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลง หรือไมโครคอมพิวเตอร์ เป็นแบบตั้งโต๊ะ หรือพกพาได้ ทำงานเร็วขึ้นและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

คอมพิวเตอร์ยุคที่ 5 อยู่ระหว่างปี พ.ศ. 2524-ปัจจุบัน เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้วงจร VLSI (Very Large Scale Integration) เป็นการพัฒนาไมโครโพรเซสเซอร์ให้มีประสิทธภาพมากขึ้น คอมพิวเตอร์ในยุคนี้ใช้เพื่อช่วยในการจัดการ การตัดสินใจ และการแก้ปัญหา โดยจะมีการเก็บข้อมูลไว้ เมื่อต้องการใช้งานก็สามารถเรียกข้อมูลที่เก็บไว้มาใช้ในการทำงานได้ ขนาดเครื่องมีแนวโน้มเล็กลง และมีความเร็วสูงขึ้น เช่น โน๊ตบุ๊ก

ลักษณะของระบบปัญญาประดิษฐ์
1. ระบบหุ่นยนตร์หรือแขนกล (Robotics or Robot arm System)

          - หุ่นจำลองร่างกายมนุษย์ทำงานด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์
          - แขนกลในโรงงานอุตสาหกรรม หุ่นยนตร์กู้ระเบิด

2. ระบบประมวลภาษาพูด (Natural Language Processing System) 
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ระบบประมวลภาษาพูด
ระบบคอมพิวเตอร์สามารถสังเคราะห์เสียงที่มีอยู่ในธรรมชาติ (Synthesize) เพื่อสื่อความหมายกับมนุษย์ นาฬิกาปลุกพูดได้ (Talking Clock)  เครื่องคิดเลขพูดได้ (Talking Calcuator)

3. ระบบการรู้จำเสียงพูด (Speech Regcognition System)
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ระบบการรู้จำเสียงพูด
พัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ให้เข้าใจภาษามนุษย์ จดจำคำพูดของมนุษย์ได้อย่างต่อเนื่อง งานระบบรักษาความปลอดภัย งานพิมพ์เอกสารสำหรับผู้พิการ

4. ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert System)
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ คอมพิวเตอร์วิเคราะห์โรค
พัฒนาให้ระบบคอมพิวเตอร์มีความรู้ รู้จักใช้เหตุผลในการวิเคราะห์ปัญหา อาศัยฐานข้อมูล (Database) เพื่อให้ระบบคอมพิวเตอร์สามารถวิเคราะห์ปัญหาได้จากฐานความรู้นั้น คอมพิวเตอร์วิเคราะห์โรคคอมพิวเตอร์ทำนายโชคชะตา


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น